การเกษตรเรื่องโรคและแมลงศรัตรูของผึ้งโพรง
นอกจากปัญหาในการรวมรังผึ้ง การดูและรังผึ้งแล้วปัญหาหลัก ๆ ที่เกษตรกรยังต้องคอยหมั่นดูแลก็คือโรคและแมลงที่จะมาก่อกวนผึ้งโพรงอีกด้วย ซึ่งแมลงหรือศัตรูที่จะมาก่อกวนผึ้งโพรง มีดังนี้
- สัตว์ที่กินผึ้งเป็นอาหาร จำพวก กบ ตุ๊กแก แมงมุม และนกกิ้งโครง หากเกษตรกรพบเห็นสัตว์จำพวกนี้บริเวณที่เลี้ยงผึ้งโพรงให้ทำลายทิ้งหรือทำการไล่ไป วิธีป้องกันคือ เกษตรกรต้องหมั่นทำความสะอาดรังผึ้งอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้รังผึ้งสกปรกเพราะจะเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของสัตว์จำพวกนี้ได้
- แมลง จำพวกหนอดผีเสื้อ จะทำลายโดยการกินไข่ผึ้งซึ่งจะพบหนอนผีเสื้อมากในรังผึ้งที่อ่อนแอและรังที่มีผึ้งน้อย วิธีป้องกันคือ เกษตรกรต้องนำผึ้งมาใส่ในรังให้มาก ๆ อย่าปล่อยให้ผึ้งในรังเหลือน้อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ผีเสื้อกลางคืนมาไข่แทนที่ผึ้งและจะกัดกินไข่และรังผึ้งในที่สุด มดชนิดต่าง ๆ มดจะเข้าไปทำลายกัดกินทั้งตัวผึ้ง ไข่ผึ้ง แบะโขมยน้ำหวาน วิธีป้องกันคือ เกษตรกรควรหาเศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องจากนั้นให้นำไปพันรอบ ๆ เสาหรือขาตั้งของรังผึ้ง แค่นี้ก็สามารถป้องกันเจ้าพวกมดตัวน้อย ๆ ได้แล้ว ปลวก จะทำลายรังผึ้งด้วยการกัดกินรังผึ้งจากนั้นปลวกก็จะสร้างรังของมันเองเข้ามาแทนที่ วิธีป้องกันคือ เกษตรกรควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของรังผึ้งอย่างต่อเนื่องไม่ควรปล่อยให้รังผึ้งโพรงรกรุงรัง หากเกษตรกรพบปลวกบริเวณที่เลี้ยงผึ้งโพรงก็ให้ทำลายเสีย แมลงชนิดสุดท้ายคือ ไรวาร์รัว จะดูดกินเลือดหรือของเหลวในตัวผึ้ง ซึ่งผึ้งที่ถูกไรวาร์รัวดูดกินเลือดนั้นจะมีลักษณะผิดปกติไปจากผึ้งตัวอื่น ๆ คือ ปีกจะไม่แผ่ออก วิธีป้องกันคือเกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดไร
- โรคของผึ้ง ที่พบมากคือโรคแซดบรูค เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสโรคแซดบรูคจะมีลักษณะ คือ ตัวอ่อนมีสีขาวขุ่นถึงเหลืองหรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจึงค่อย ๆ แห้งส่วนหัวจะหดและส่วนปลายจะเปลี่ยนเป็นถุงน้ำ วิธีป้องกัน เกษตรกรควรทำการเปลี่ยนรวงตัวอ่อนที่เป็นโรคแซดบรูค หลังจากนั้นให้นำไปเผาไฟทิ้งเสียและทำการเปลี่ยนตัวนางพญาใหม่ทันที