สาเหตุที่แดดร้อนจัด แรงจัดจนแสบผิวมากขึ้นทุกวัน และวิธีแก้ไข(สำหรับเกษตรกร)
สำหรับคนที่ออกแดดอยู่เป็นประจำ คงจะสังเกตได้จากเวลาที่สัมผัสกับแสงแดดโดยตรงจะรู้สึกว่าแดดนั้นแรงขึ้น โดนแล้วรู้สึกแสบมากขึ้น เวลาที่ทำงานกลางแดดก็รู้สึกร้อนมากเหงื่อออกมากขึ้น … ถ้าเป็นสมัยก่อนลักษณะแดดแบบนี้จะมีเฉพาะแต่ตอนหน้าร้อน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้วครับ ถ้าหน้าฝนวันไหนฝนตกก็ดีหน่อย แต่ถ้าไม่ตกก็ร้อนไม่ต่างจากหน้าร้อนเลย
สำหรับการที่แดดร้อนแรง แผดเผาขนาดนี้ มีสองสาเหตุหลักคือ
1. โอโซนที่เคยเป็นตัวกรองรังสี UV บนชั้นบรรยากาศได้ถูกทำลายโดยสาร cfc ที่มีอยู่มากในเครื่องทำความเย็น เสปรย์กระป๋องต่างๆ …เมื่อโอโซนถูกทำลายจนเป็นรูโหว่ ก็ทำให้เราถูกรังสี UV ที่มีค่าความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ผิวไหม้ เสี่ยงต่อการเกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังมากขึ้น
2. สภาวะโลกร้อน ปรากฎการณ์รือนกระจก จากก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซต์ ที่เกิดจากการเผาไหม้ เผาผลาญน้ำมันจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ก๊าซเหล่านี้จะสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศและอมความร้อนไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น จนทำให้มีผลกระทบอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น น้ำแข็งขั้วโลกละลายจนระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ เกาะแก่งถูน้ำท่วม พายุแรงขึ้นและเพิ่มมากขึ้น อากาศร้อนและแล้งจัดขึ้น เกิดโรคระบาดใหม่ๆหรือโรคเดิมแต่รุนแรงขึ้น(สังเกตได้จากเชื้ออีโบล่า ที่กำลังระบาดในแอฟริกา ในขณะนี้) ฯลฯ
สำหรับวิธีแก้ไขปัญหาแดดร้อน แดดจัดสำหรับเกษตรกรก็มีดังนี้ครับ
1. ควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งในช่วงที่แดดแรงจัด โดยปรับเปลี่ยนเวลาให้มาทำช่วงเช้าและเย็นเอา หรือถ้าเป็นสถานที่ ที่ไม่เปลี่ยวมากนักก็สามารถใช้หม้อแบททำงานช่วงหัวค่ำได้เลย จะได้งานเพิ่มมากกว่าทำตอนกลางวัน เพราะไม่ต้องพักหลบแดดบ่อยๆ…แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้สวมเสื้อแขนยาว หมวก แว่นตากันแดดให้มิดชิด วัสดุที่สวมใส่ควรระบายอากาศได้อย่างดีด้วย …. ทาครีมกันแดดที่มี SPF สูงๆ ถ้าไม่กลัวดำอย่างน้อยก็พอช่วยปกป้องรังสีที่เป็นบ่อเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้บ้าง
2. ปลูกพืชเป็นระดับชั้นช่วยกรองแสง ในอนาคตถ้าปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบไม่มีร่มจากไม้ใหญ่เลย จะเป็นอันตรายกับทั้งพืชและตัวเกษตรกรเอง เพราะพืชจะถูกแดดเผาจะเหี่ยว เกษตรกรก็ไม่มีที่หลบแดด …ควรแบ่งการปลูกพืชเป็นระดับชั้น ตามลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภมิอากาศของแต่ละพื้นที่ เช่น ปลูกจามจุรี ยางนาเป็นไม้ชั้นบนสุด ระดับถัดลงมาก็เป็นผลไม้อย่างมะม่วง กล้วย ระดับถัดลงมาอีกก็เป็นมะนาว lส้มจี๊ด ฝรั่ง อีกระดับก็เป็น พริก ตะไคร้ ระดับต่ำลงไปอีกก็เป็นผักหรือถั่วขนิดต่างๆ และระดับสุดท้ายก็เป็นพืชหัวใต้ดินอย่าง มันเทศ ขิง เป็นต้น … ไม่ต้องห่วงว่าพืชจะได้แสงไม่พอครับ ถ้าเราจัดระดับชั้นให้ดี ศึกษาให้ดีว่าพืชตัวไหนต้องการแสงมากน้อยแค่ไหน และวิธีนี้จะทำให้พืชมีหลากหลาย เก็บกิน เก็บขายได้หลายอย่าง และวัชพืชก็จะมีน้อยกว่าการปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งอบ่างเดียวทั้งแปลง
3. เมื่อแดดจัด แดดแรง น้ำก็จะระเหยเร็วกว่าปกติ ถ้าจะหวังพื่งน้ำฝนอย่างเดียวไม่พอแน่นอน ต้องเตรียมแหล่งน้ำไว้อย่างน้อย 1 อย่าง และต้องเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ด้วย เช่น แท้งค์เก็บน้ำ ขุดสระ น้ำบาดาล เป็นต้น สระนี้สำคัญควรมีทุกสวนครับไม่ต้องไปเสียดายพื้นที่ พื้นที่คุณยังอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์เท่านั้น ใช้เก็บกักน้ำ ใช้เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงหอย ปลูกพืชน้ำอย่างผักบุ้ง ผักกระเฉด ได้หมด
สำหรับท่านที่ยังนึกภาพผลกระทบต่างๆไม่ออก ก็สามารถดูสารคดีเกี่ยวกับโลกร้อนดูได้ครับ มีเยอะมาก เช่น