ความรู้การเกษตรทั่วไปเรื่องฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร มีชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ” Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees ”
มีชื่อชื่อสามัญว่า ” Kariyat , The Crea t” อยู่ในวงศ์ตระกูล ACANTHACEAE
มีชื่อเรียกอื่นแตกต่างกันตามพื้นที่ต่าง เช่น จังหวัดสงขลาเรียกหญ้ากันงู กรุงเทพเรียกน้ำลายพังพอน,ฟ้าละลายโจร พัทลุงเรียกเมฆทะลาย,ฟ้าสะท้าน
ลักษณะเป็นพืชล้มลุก สูง 30 ถึง 70 เซ็นติเมตร ทุกส่วนของฟ้าทะลายโจรจะมีมีรสขม ลักษณะกิ่งจะเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่สารสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ สารแอดโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) , สารนีโอแอนโดรกราโฟไลด์ (neo-andrographolide) , 14-ดีอ๊อกซี่แอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-andrographolide)
มีสรรพคุณทางยาคือ
1. สามารถใช้แก้ไข้ทั่ว ๆ ไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
2. มีฤทธิ์ระงับอาการอักเสบ พวกไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี
3. ใช้แก้ติดเชื้อ พวกทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย บิด และแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ
4. ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
โดยปัจจุบัน นิยมนำฟ้าทะลายโจรทำเป็นลูกกลอนหรือใส่แคปซูลกันอย่างแพร่หลายเพื่อความสะดวก (เหมาะอย่างยิ่งในกรณีทำการเกษตรฟ้าทะลายโจรเพื่อเป็นอาชีพ)