ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำของประเทศไทย
ประเทศไทยประสบปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำมายาวนานมาก และก็ยังไม่มีใครหาวิธีแก้ไขแบบยั่งยืนได้เลย ส่วนใหญ่รัฐบาลที่เข้ามาช่วยเหลือก็มักจะเข้ามาแก้ปัญหาแบบระยะสั้น เช่น การจำนำข้าว , รัฐรับซื้อผลผลิตไว้เอง เป็นต้น ซื่งก็ช่วยเหลือเกษตรกรได้แบบชั่วคราวเท่านั้น (อาจจะเป็นเพราะเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย หรือไม่มีใครคิดจะแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรอย่างจริงจังก็ไม่ทราบได้)
มาดูที่ต้นตอของปัญหาก่อนดีกว่า เหตุผลที่ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำหลักๆเลยก็คือมีผลผลิตออกมามากเกินความต้องการของตลาด ยกตัวอย่างง่ายๆเลย กรณีที่สับปะรดราคาถูกมากๆในช่วงหนึ่งก็เพราะมีผลผลิตออกมามาก แต่ประชากรมีความสามารถในการบริโภคได้เท่่าเดิม และจากการที่เป็นสินค้าที่เน่าเสียง่าย ทำให้ต้องเร่งรีบขายออกไป ก็ยิ่งทำให้ราคาตกต่ำลงไปอีก
และปัญหาขาดหน่วยงานที่จะมาจัดสรร วางแผนการปลูก วางแผนการผลิตสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกร เพราะเกษตรกรก่อนที่จะตัดสินใจปลูกอะไรมักจะอ้างอิงราคาผลผลิตในปัจจุบัน ผลผลิตตัวไหนราคาแพงขณะนั้นก็จะแห่กันไปปลูกอันนั้น ซื่งในความเป็นจริงมันอ้างอิงไม่ได้ เพราะผลผลิตทางการเกษตรมักใช้เวลานานกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ ซื่งการที่เกษตรกรแห่กันมาปลูกพืชเหมือนกันหมดก็ทำให้ราคาตกต่ำ กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้วที่จะเเก้ไข แล้วก็หันหน้าเข้าไปหารัฐบาลให้รัฐบาลช่วยเหลืออยู่เสมอๆ
3 thoughts on “ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำของประเทศไทย”
Leave a Reply
You must be logged in to post a comment.
รู้ปัญหาแล้วช่วยเสนอวิธีแก้หน่อยค่ะใครต้องทำจะทำอย่างไร กำลังคิดจะไปทำเกษตรที่บ้านนอก บนผืนดินที่บรรพบุรุษมอบให้
ผลิตอาหาร…สุดท้ายแม้ไม่มี iphone5 ไม่มี wifi ไม่มี G4-10
ก็มีชีวิตอยู่ได้เพี่ยงแค่มีอาหารกิน
เสนอแนะวิธีการช่วยให้ราคาไม้ผลดีขึ้น ของประเทศไทย เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีทันสมัย วิทยาการก้าวหน้า สามารถที่จะควบคุมกำหนดให้ผลไม้ออกนอกฤดูกาลได้ ดังนั้นถ้ามีการวางแผนดีๆ วางแผนให้เป็นระบบทั้งประเทศ จะช่วยได้เยอะ เช่น ให้ชาวสวนผลไม้แต่ละชนิดลงทะเบียนว่าใครจะควบคุมให้ผลผลิตออกนอกฤดูกาลบ้าง ใครต้องการให้ออกในฤดูกาลบ้าง แบ่งสัดส่วนให้ใกล้เคียงกัน เมื่อผลผลิตออกมาราคาจะไม่ตกต่ำ และสามารถมีผลไม้กินตลอดทั้งปีได้ ลองดูถ้าทำได้ก็แก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง
ตอบคุณ kkaa
ถ้าทำได้จริงจะเเจ่มากครับผม