Posted on 0 comments

ความรู้การเกษตรเรื่องปลานิล

ความรู้การเกษตรเรื่องปลานิล
ปลานิล ชื่อวิทยาศาสตร์ Tilapia nilotica มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย นิยมเลี้ยงเพื่อการเกษตรกันอย่างแพร่หลายในภาคพื้นเอเซีย แม้แต่ในสหรัฐอเมริกาก็นิยมเลี้ยงปลาชนิดนี้ ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 เดือนมีนาคม พุทธศักราช 2508 เป็นจำนวนทั้งหมดจำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
จากผลการทดลองในครั้งนั้น ปรากฏว่าปลานิลที่ทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโต และแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานให้ชื่อว่า “ปลานิล” โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำ Nile ซื่งเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม และพระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์ และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆตามที่เห็นว่าเหมาะสม เนื่องจากปลานิลมีคุณลักษณะพิเศษหลายข้อ เช่น กินอาหารได้ทุกชนิด เช่น ไรน้ำ ตะไคร่น้ำ ตัวอ่อนของแมลงและสัตว์น้ำเล็กๆ มีขนาดลำตัวใหญ่ ความยาวประมาณ 10–30 เซนติเมตร แพร่ขยายพันธุ์ง่าย และมีรสชาติดี
ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงโปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยง และแพร่ขยายพันธุ์ปลานิลในบ่อสวนจิตรลดาต่อไป ในทางวิชาการเรียกสายพันธุปลานิลดังกล่าวว่า ปลานิลจิตรลดา ซึ่งยังคงเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้ที่ประเทศไทยได้รับทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ

รูปร่างลักษณะปลานิล

ความรู้การเกษตรเรื่องปลานิล
ความรู้การเกษตรเรื่องปลานิล

รูปร่างลักษณะของปลานิลคล้ายกับปลาหมอเทศแต่ลักษณะพิเศษของปลานิลมีดังนี้คือ ริมฝีปากบนและล่าง เสมอกัน ที่บริเวณแก้มมีเกล็ด 4 แถว ตามลำตัวมีลายพาดขวางจำนวน 9-10 แถบ นอกจากนั้นลักษณะทั่วไปมีดังนี้ ครีบหลังมีเพียง 1 ครีบ ประกอบด้วยก้านครีบแข็งและก้านครีบอ่อน เป็นจำนวนมาก ครีบก้นประกอบด้วยก้านครีบ แข็งและอ่อนเช่นกันมีเกล็ด ตามแนวเส้นข้างตัว 33 เกล็ด ลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล ตรงกลางเกล็ดมีสีเข้ม ที่ กระดูก แก้มมีจุดสีเข้มอยู่จุดหนึ่ง บริเวณส่วนอ่อนของ ครีบหลัง ครีบก้น และครีบหางนั้นจะมีจุดสีขาว และสีดำ ตัดขวางแลด คล้ายลายข้าวตอกอยู่โดยทั่วไป
ในประเทศไทยพบปลานิลสีเหลือง-ขาว ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์จากปลานิลสีปกติ หรือเป็นการผสมข้ามพันธุ์ระหว่าง ปลานิลกับปลาหมอเทศ ซึ่งนอกจากสีภายนอกที่แตกต่าง จากปลานิลธรรมดาแล้วภายในตัวปลาที่ผนังช่องท้องยัง เป็นสีขาวเงินคล้ายผนังช่องท้องของปลากินเนื้อ และสีของเนื้อปลาเป็นสีขาวชมพูคล้าย ปลากะพงแดงซึ่งเป็นที่นิยม รับประทานในต่างประเทศมีชื่อเรียกเป็นที่รู้จักกันว่า “ปลานิลแดง”

ประโยชน์ของปลานิล
ปลานิลเป็นปลาที่มีเนื้อมากและรสดี สามารถที่จะใช้เนื้อเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ทอด ต้ม แกง ตลอดจน ทำน้ำยาได้ดีเท่าปลาช่อน
ประโยชน์ของปลานิล
ประโยชน์ของปลานิล

นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดต่างๆได้เช่นเดียวกับปลาชนิดอื่น โดยทำเป็นปลาเค็มตากแห้ง ทำเป็นปลากรอบ ปลาร้า ปลาเจ่า ปลาจ่อม หรือปลาส้ม และประกอบเป็นอาหารได้อีกมากชนิด ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นนี้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ทั้งสามารถนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เพิ่มขึ้นตามความต้องการได้อีกด้วย
และนอกจากนำมารับประทานได้แล้ว เนื้อปลานิลมีสารเอนไซม์ทรานกลูทามิเนส สามารถนำมาผลิตเป็นเจลใสใช้สำหรับทำการสลบสัตว์น้ำ

Leave a Reply