Posted on 0 comments

การเกษตรเรื่องการปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์

การเกษตรเรื่องการปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์
สำหรับการปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์มีการปลูกอยู่ 3 วิธี คือ
1. การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตชลประทาน
พื้นที่ปลูกอ้อยประเภทนี้มีประมาณ 1 ล้านไร่ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตอ้อยสูง ถ้ามีการจัดการที่ดี และตั้งเป้าหมายไว้ว่า ผลผลิตอ้อยในเขตนี้ไม่ควรต่ำกว่า 15 ตันต่อไร่ การปลูกอ้อยในเขตนี้ มีการปรับเปลี่ยนวิธีปลูก เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เช่น เครื่องปลูก เครื่องใส่ปุ๋ย เครื่องกำจัดวัชพืช และรถเก็บเกี่ยว เป็นต้น
– การปลูกโดยใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง 1.4-1.5 เมตร วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยวเกยกันครึ่งลำ หรือ 2 ลำคู่ ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้ หลังจากวางพันธุ์อ้อยแล้วให้ใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน แล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 5เซนติเมตร
– การปลูกโดยใช้เครื่องปลูก หลังจากเตรียมดินแล้ว ไม่ต้องยกร่อง จะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์ โดยจะมีตัวเปิดร่อง และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่อง และมีตัวกลบดินตามหลัง และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย ปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ในกรณีนี้ใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก และจะปลูกแถวคู่ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร ระยะระหว่างคู่แถว 30-40 เซนติเมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย

การปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์
การปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์

2. การปลูกอ้อยต้นฝนในเขตอาศัยน้ำฝน
พื้นที่ปลูกอ้อยส่วนใหญ่จะอยู่ในประเภทนี้ และเป็นพื้นที่ที่มีความแปรปรวนในเรื่องผลผลิตสูง สาเหตุหลักมี 2 ประการ คือ ปริมาณและการกระจายตัวของฝนไม่ดี และดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ การใส่ปุ๋ยก็จะมีความเสี่ยงสูงและหาจังหวะการใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพสูงยาก เพราะถ้าดินไม่มีความชื้น พืชก็ดูดปุ๋ยที่ใส่ไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นหากเกษตรกรต้องการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ต้องพยายามหาแหล่งน้ำ เพื่อให้น้ำอ้อยได้ในช่วงวิกฤตและที่สำคัญ การปลูกอ้อยในเขตนี้จะคล้ายกับในเขตชลประทาน แตกต่างก็เพียงระยะห่างระหว่างร่องในบางพื้นที่จะใช้แคบกว่า คือ ประมาณ 0.9-1.2 เมตร เพราะอ้อยในเขตนี้จะแตกกอน้อยกว่าการลดระยะแถวลง ทำให้สามารถเพิ่มจำนวนลำเก็บเกี่ยวอ้อยต่อพื้นที่ได้

การปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์
การปลูกอ้อยเลี้ยงสัตว์

3. การปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง)
เป็นการปลูกอ้อยโดยอาศัยความชื้นในดินช่วงปลายฤดูฝน เพื่อให้อ้อยงอกและเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ ไปจนกว่าอ้อยจะได้รับน้ำฝนต้นฤดู เป็นวิธีการปลูกอ้อยที่ใช้ได้ผลในเขตปลูกอ้อยอาศัยน้ำฝนบางพื้นที่ที่ดิน เป็นดินทรายหรือร่วนปนทราย และที่สำคัญ จะต้องมีปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปี และมีการกระจายตัวดี โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดู คือระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน จะต้องมีปริมาณฝนที่พอเพียงกับการเจริญเติบโตของอ้อยในช่วงแรก
การเตรียมดินปลูกจะต้องไถเตรียมดินจนกว่าหน้าดินจะร่วนซุย หลังจากเตรียมดินแล้ว ควรรีบยกร่องและปลูกให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทันกับความชื้น และควรยกร่องปลูกวันต่อวัน พันธุ์อ้อยที่ใช้ปลูกข้ามแล้งจะเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแก่ คือ อายุประมาณ 8-10 เดือน เกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบทั้งลำ โดยจะชักร่องให้ลึก ระยะแถว 1.0-1.3 เมตร และวางลำอ้อยในร่องแล้วใช้จอบสับลำอ้อยเป็น 2-3 ส่วน กลบดินหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และใช้เท้าเหยียบดินที่กลบให้แน่นพอประมาณ เพื่อให้ท่อนพันธุ์อ้อยสัมผัสกับดินชื้นมากที่สุด ข้อดีของการการปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง) คือ จะมีผลผลิตและรสชาติที่หวานกว่าอ้อยที่ปลูกฤดูฝน และปัญหาเรื่อวัชพืชจะน้อย เพราะหน้าดินจะแห้งอยู่ตลอดเวลาในช่วงของการเจริญเติบโต สำหรับข้อเสียของการปลูกอ้อยปลายฝน (ปลูกข้ามแล้ง) คือ ถ้าฝนเกิดตกในช่วงที่ต้นอ้อยยังเล็กจะทำให้หน้าดินแน่น และจะทำให้อ้อยเจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก จึงควรคราดหน้าดินเพื่ออป้องกันดินแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้รัดหน่ออ้ย