Posted on 3 comments

ความรู้เรื่องการขยายพันธุ์ไผ่

การขยายพันธุ์

  • ไผ่ตงสามารถขยายพันธุ์ได้ 5 วิธี คือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพราะเมล็ด การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การแยกกอหรือเง้า การชำปล้อง และการปักชำแขนง
    การขยายพันธุ์ไผ่
    การขยายพันธุ์ไผ่

  • 1. การเพาะเมล็ด

  • ไผ่ตงเมื่อแก่แล้วจะออกดอกและตาย ซึ่งปกติไผ่ตงจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิการยน – มกราคม โดยเมล็ดไผ่ตงจะเริ่มแก่และหล่นประมาณเดือนมีนาคม – เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ตงไปเพาะต่อโดยวิธีต่อไปนี้
  • 1.1 การเก็บเมล็ดพันธุ์

  • เมล็ดไผ่ตงเมื่อแก่จัดจะล่วงลงพื้น เกษตรกรควรถางและกวาดโคนต้น เพื่อสะดวกในการเก็บเมล็ดไผ่ตง
  • คัดเมล็ดที่เสียออกเก็บไว้แต่เมล็ดที่สมบูรณ์
  • นำเมล็ดไผ่ตงมานวดและฝัดเอาเปลือกออก แล้วนำไปตากแดดประมาณ 1 วัน จึงนำไปเพาะได้ (ถ้าต้องการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพราะควรคลุกด้วยสารเคมีเซฟวิน เอส-85 เพื่อป้องกันแมลงมารบกวนและไม่ควรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้นานเกิน 1 เดือน
    การขยายพันธุ์ไผ่ตง
    การขยายพันธุ์ไผ่ตง

    1.2 การเพาะกล้าไผ่ตง

  • เมล็ดไผ่ตงที่จะนำมาเพาะควรจะเอาเปลือกออกก่อนเพื่อให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นและเติบโตอย่างสม่ำเสมอ
  • นำเมล็ดไผ่ตงไปแช่น้ำไว้ 2 คืน หรือแช่เมล็ดไผ่ตงในน้ำอุ่นก่อนประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้อีก 1 คืน
  • นำเมล็ดไผ่ตงขึ้นจากน้ำแล้วนำมาห่อด้วยผ้า รดน้ำให้ชื้นอย่างสม่ำเสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดไผ่ตงจะเริ่มงอก
  • นำเมล็ดไผ่ตงที่เริ่มงอกแล้วไปเพาะในแปลงที่มีขี้เถ้าแกลบผสมกับดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดและกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซ.ม. คลุมแปลงด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
  • หลังจากเพาะเมล็ดไผ่ตง 15 วัน จะได้ต้นกล้าที่มีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ให้ย้ายต้นกล้าที่แข็งแรงลงในถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำหรือในที่ร่มรำไรประมาณ 6-8 เดือน จึงน้ำต้นกล้าไปปลูก
    การขยายพันธุ์ไผ่ตง
    การขยายพันธุ์ไผ่ตง

    2.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

  • การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นการนำต้นกล้าที่ได้จากการเมล็ดมาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมาก ๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มากจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตายเพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่จะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกก็จะออกดอกตายด้วยเช่นกัน แต่การเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องอาศัยขั้นตอนและเทคนิคทางวิชาการมาก จึงควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการหรือบริษัทเอกชนที่มีความชำนาญเป็นผู้ดำเนินการผลิต
    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

    3.การขยายพันธุ์โดยการแยกกอหรือเง้า

  • การขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะต้องเลือกเหง้าที่มีอายุ 1-2 ปี โดยตัดตอให้สูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร แล้วทำการขุดเหง้ากับต่อออกจากกอแม่ แต่ต้องระวังอย่าให้ตาที่กอเหง้าแตกเสียหายได้ (เพาะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป) การขยายพันธุ์วิธีนี้จะได้เหง้าแม่ที่สะสมอาหารอยู่มาก จึงมีอัตราการรอดตายสูง ทำให้หน่อแข็งแรงและและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงหรือลำ
    4.การขยายพันธุ์โดยการชำปล้อง

  • การขยายพันธุ์โดยการชำปล้องจะต้องเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1 ปี แล้วนำมาตัดเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนมี 1 ข้อ โดยจะต้องตัดตรงกลางท่อนให้รอยตัดทั้งสองข้างห่าจากข้อประมาณ 1 คืบ และต้องมีแขนงติดอยู่ประ 1 คืบ จากนั้นนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้อยู่ระดับดินและให้ตราหงายขึ้น และต้องระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย เพราะจะทำให้หน่อไม่งอก หลังจากนั้นเทน้ำใส่ปล้องไผ่ตรงให้เต็ม
  • การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้จะต้องหมั่นดูแลรดน้ำอย่างสม่ำเสมอและต้องคอยเติมน้ำใส่ให้เต็มปล้องไผ่เสมอ หลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อและรากแข็งแรงเต็มที่ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน ก็ทำการย้ายปลูกได้
    การชำปล้อง
    การชำปล้อง

    5. การขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงปักชำมีการคัดเลือกดังนี้

  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 นิ้ว
  • รากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
  • ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
    การคัดเลือกกิ่งแขนง

  • ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง

    เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ ตัดปลายกิ่งออกให้เหลือ 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก มีขั้นตอนดังนี้
    – เตรียมแปลงเพาะชำโดยการไถพรวนดิน ควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
    – ขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วทุกด้าน
    – นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
    – หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8×10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน

  • 3 thoughts on “ความรู้เรื่องการขยายพันธุ์ไผ่

    1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากเลยค่ะ

    2. ดำน้ำ หาดนางรำ @สัตหีบ ชลบรี says:

      จะทดลองปัำกชำ ขอบคุณครับ

    3. ไผ่ที่บ้านมีเยอะเลยครับไปซื้อมาปลูก ตอนนี้อยากจะขยาย
      แต่อยากรู้วิธีละเอียดๆเกี่ยวกับการน้ำกิ่งมาลงดินครับ
      แต่ยังไงก็ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

    Leave a Reply