ผลกระทบจากการกรีดยางต้นเล็ก ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะพบมากแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพราะมีสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าภาคใต้ อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงที่ยางพารามีราคาแพงทำให้เกษตรเร่งเปิดกรีดยาง ทั้งๆที่ยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสม
กรมวิชาการเกษตรได้มีการวิจัยออกมาแล้วว่า ถ้าหากเกษตรทำการเร่งกรีดยางที่มีขนาดยังไม่ได้มาตรฐาน(ขนาดมาตรฐานคือ เส้นรอบวง 50 ซม. โดยวัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 ซม.) จะทำให้ต้นยางได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ดังนี้
- ยางที่มีลำต้นขนาดเล็ก ความหนาของเปลือกจะบาง ส่วนของเปลือกยางจะมีท่อน้ำเลี้ยงเป็นส่วนที่จะสร้างน้ำยางให้ลำต้น ถ้าเปลือกบางจะมีท่อน้ำเลี้ยงน้อยทำให้ได้ผลผลิตไม่เต็มที่ และจะทำให้ยางเติบโตช้าลงมาก
- การกรีดยางต้นเล็ก จะทำให้ผลผลิตน้ำยางลดลงประมาณ 30-60 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับยางขนาด 50 เซ็นติเมตร
- การกรีดยางต้นเล็ก ทำให้สิ้นเปลืองหน้าเปลือกมาก ทำให้หน้ากรีดเสียหายมาก เพราะหน้าเปลือกยังบางอยู่ ทำให้ยางพารามีอายุสั้นลง และอาจจะทำให้เกิดปัญหาหน้ายางตายได้
- และการกรีดยางต้นเล็กก็จะส่งผลให้คุณภาพของไม้ยางพาราด้อยลงอีกด้วย (กรณีที่ยางพาราหมดอายุขัยแล้วนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ไม้)
ที่มาของรูปภาพ www.rakbankerd.com
ที่มาของเนื้อหา นิตยสารเกษตรชีวภาพ ปีที่ 10 ฉบับที่ 118 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553